Custom Search

Search This Blog

Sunday, September 19, 2010

ยาคูลท์...เรื่องที่หลายคนยังไม่รู้


ยาคูลท์... เรื่องที่หลายคนยังไม่รู้


ปัจจุบันมีเครื่องดื่มน้ำสีส้มขวดขาวขุ่นออกมาวางแข่งกับยาคูลท์หลายยี่ห้อ ดิฉันก็เคยซื้อกินเหมือนกัน ด้วยเหตุผลที่ว่ามันถูกดี กินทีอิ่มไปหลายชั่วโมง หลอดก็ใหญ่กว่าดูดได้สะใจ หรือจะยกซดก็ไม่เลว แต่จะว่าไปแม้จะพยายามเลียนแบบอย่างไร

(ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเจ้าอื่นเขาจงใจเลียนแบบหรือแค่บังเอิญ) ยาคูลท์ก็ยังไม่มี ผู้ใดเทียบเทียมได้

มีข้อน่าสังเกตคือ ยาคูลท์ไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 ขวด เนื่องจากแท้จริงแล้วยาคูลท์นั้นมิใช่ขนม แต่เป็นนมที่ผ่านการหมักบ่มกับน้ำตาลและน้ำ และผสมกับเชื้อแบคทีเรียฝ่ายธรรมะ ที่ชื่อว่า Lactobacillus casei shirota strain ที่เราคุ้นๆหูกันอยู่นั่นเอง ดังนั้นถ้ามีไอ้ เลคโตบาสิลัสมากไป มันอาจจะแย่งที่อยู่ ทีนี้ละก็บ้านที่มันอาศัย หรือก็คือท้องของเราเองก็จะถูกแลคโตบาสิลัสพันธุ์นักการเมืองปู้ยี่ปู้ยำ ผลสุดท้ายเป็นอย่างไรคงไม่ต้องบอก

 Lactobacillus casei shirota

ยาคูลท์ทำงานอย่างไร


หากมองลงไปในพุงกะทิของเราเองจะเห็นว่าลำไส้เล็กนั้น จะบีบขย้ำกดขี่ข่มเหงและแปลงอาหารที่เรากินเข้าไปให้เป็นสารที่เป็นประโยชน์เพื่อรอการดูดซึมแต่ในขณะเดียวกันก็จะมีสารที่เป็นโทษ! หลุดรอดออกมาด้วย เมื่อร่างกายก่อเกิดความสมดุลของแบคทีเรียที่เป็นประโยช น์ ระบบย่อยอาหารของเราก็จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
 

เฉลี่ยแล้ว แลคโตบาซิลัสมีมูลค่าตัวละ 0.00000000075 บาท


แต่ถ้าสมดุลเสียไป สารพิษและสาร อันตราย อาจถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่าย ดังนั้นไอ้เจ้าแลคโตบาสิลัสก็เลยคิดใหม่ทำใหม่กลายเป็นพระเอกม้าขาว(ออกสีนวลๆส้มๆหน่อย) เข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการปรับสมดุลของลำไส้ ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของช่องท้องให้ สม่ำเสมอ ลดสารที่จะก่อให้เกิดความเสียหายที่ถูกผลิตโดยแบคทีเรียฝ่ายค้าน(ฝ่ายย่อยสลาย)
 
จุดเริ่มต้น
 
หากใครคิดว่ายาคุลท์มีแค่เมืองไทยละก็ผิดถนัด เพราะ ยาคูลท์มีสัญชาติญี่ปุ่นเต็มตัว นับว่าเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับโกโบริก็น่าจะได้ เพราะเมื่อ 70 กว่าปีก่อนหรือปี คศ.1930 ดร.มิโนรุ ชิโรตะ (คศ.1899-1982) จากคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยา! ลัยเกียวโตประเทศญี่ปุ่น ได้เริ่มต้นวิจัยพัฒนายาคูลท์ขึ้นเป็นครั้งแรก ด้วยเหตุที่ว่าในช่วงเวลานั้น ชาวญี่ปุ่นประสบกับปัญหาเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหารเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากขาดสารอาหาร การสาธารณะสุขและสภาพเศรษกิจ และในระหว่างปี คศ. 1930-1935 ดร.ชิโรตะสามารถจำแนกแยกแบคทีเรียจากลำไส้คนได้ถึง 300 ชนิด


เป้าหมายหลักคือจำแนกแบคทีเรียที่สามารถอยู่รอดปลอดภัยจากการเดินทาง ของมันผ่านช่องท้องและน้ำดีที่มีฤทธิ์เป็นกรด ไปสู่ลำไส้เล็ก ที่ๆมันสามารถทำงานได้ในระบบย่อย แบคทีเรียแต่ละชนิดถูกทดสอบความทนทานต่อกรดและน้ำดี และแบคทีเรียตัวที่หนังเหนียวที่สุดก็คือ ถ้าเก็บที่อุณหภูมิ 10 องศา จุลินทรีย์จะหลับ แล้วช่วงที่เราเอาออกมาดื่ม ณ อุณหภูมิห้อง 37-38 องศา มันจะตื่นก็พร้อมจะทำงานให้ร่างกายเราทันที

ถ้าตู้เก็บความเย็นไม่พอ หรือวางทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง จุลินทรีย์อา จมีปริมาณมากกว่าที่ระบุไว้ข้างขวด เพราะมันเติบโตขยายพันธุ์ไปเรื่อย ๆ แต่ตัวพ่อตัวแม่จะเริ่มอ่อนแอลง เพราะออกลูกออกหลานจนเหนื่อย ....ฉะนั้นให้รีบๆ กินซะ

แต่ถ้าคุณปล่อยให้ยาคูลท์ตากแดด จุลินทรีย์จะตาย ยังกินได้อยู่นะ แต่ก็ไม่มีประโยชน์แล้ว ...
 

ยาคูลท์ ช่วยกำจัดกลิ่นในจุดซ้อนเร้นของผู้หญิง


เชื่อได้ว่า...คงมีสาวๆหลายคนที่กำลังประสบปัญหากับสิ่งนี้กับกลิ่นไม่พึงประสงค์จุดซ้อนเร้นที่หากแฟนหนุ่มเข้าใกล้คงร้องจ๊ากจนต้องวิ่งหนีไปสามร้อยลี้ จนทำให้เพื่อนๆ ขาดความมั่นใจ แต่วันนี้เรามีเคล็ดลับดีๆกับวิธีง่ายๆมาฝากกันในการกำจัดกลิ่นนั้นให้หายไปค่ะสำหรับกลิ่นไม่พึงประสงค์ในจุดซ้อนเร้นของสาวๆที่เกิดขึ้นนั้น เกิดได้จากเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดีในช่องคลอดน้อยลง ซึ่งถูกทำลายโดยแบตทีเรียจนเกิดเป็นกลิ่นออกมาในบางรายกลิ่นอาจ! จะแรงมากแม้ในขณะเข้าใกล้แต่ไม่ใช้เรื่องน่าตกใจเพราะปัญหาที่เกิดนี้มีวิธีรักษาได้อย่างง่ายดายส่วนวิธีรักษานั้นเพียงแค่เพื่อนๆเพิ่มเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปทำลายแบตทีเรียที่เกิดอยู่โดยเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดีที่ว่านี้ก็คือเชื้อ "แลคโตบาซิลัส" (Lactobacillus)ที่มีอยู่ในยาคูลท์ ซึ่งเพื่อนๆ คงรู้จักกันดี เพียงแค่เพื่อนๆ ทานยาคูลท์วันละขวด เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีให้กับร่างกายให้เข้าไปทำลายแบตทีเรียที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเท่านี้กลิ่นที่เพื่อนๆ ไม่พึงประสงค์ในจุดซ้อนเร้นก็จะหายไปเอง