Custom Search

Search This Blog

Thursday, August 23, 2012

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล, การยื่น ภ.ง.ด.50,51,52,55


อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล พ.ศ. 2554

กำหนดเวลายื่นแบบฯ ภาษีเงินได้นิติบุคคล
การยื่น ภ.ง.ด.50,51,52,55

Wednesday, August 15, 2012

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เท่าไรต้องยื่น (> 30,000 บาท)

ตามกฎหมายให้บุคคลทุกคน เว้นแต่ผู้เยาว์ หรือ คนไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ ต้องยื่นแบบเงินได้พึงประเมิน ถ้าบุคคลนั้นมีเงินได้เฉพาะเงินเดือน ตาม ม.40(1) ประเภทเดียว เกิน 50,000 บาทต่อปี ขึ้นไป  มีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้

1. ผู้มีเงินได้ จากการจ้างงาน ประเภทเงินเดือน ค่าจ้างที่ได้รับ ในปีภาษีนั้น (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)
- 1.1 กรณีไม่มีคู่สมรส ต้องมีเงินได้ต่อปี เกิน 50,000 บาท
- 1.2 กรณีที่มีคู่สมรส ไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่าย ต้องมีเงินได้ต่อปี รวมกันเกิน 100,000 บาท

2. ผู้มีเงินได้ จากการทำธุรกิจการค้าทั่วไป ซึ่งไม่ใช่เงินที่ได้รับจากการจ้างงาน ในปีภาษีนั้น (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)

- 2.1 กรณีไม่มีคู่สมรส ต้องมีเงินได้ต่อปี เกิน 30,000 บาท
- 2.2 กรณีที่มีคู่สมรส ไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่าย ต้องมีเงินได้ต่อปี รวมกันเกิน 60,000 บาท

3. กองมรดกของผู้ตายที่ยังไม่แบ่ง เกิน 30,000 บาท

4. ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้เกิน 30,000 บาท

(ต้องยื่น ถึงแม้จะไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี)

เท่าไรต้องเสีย (>240,000 บาท)

อย่างไรก็ตาม สำหรับเกณฑ์เงินได้พึงประเมินที่เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษี เฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท หรือ 240,000 บาทต่อปี (สมมติฐาน หัก ค่าใช้จ่าย 60,000 บาท และ หักลดหย่อนส่วนตัว 30,000 บาท)

สรุป รายได้ต่อปีไม่เกิน 240,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี (ดูรายละเอียดข้างล่างนี้)

การคำนวนภาษี
.
รายได้ต่อปี                                        240,000 บาท
หัก ค่าลดหย่อนของผู้มีเงินได้                 (30,000) บาท มาตรา 47 (ก)
หัก ค่าใช้จ่าย ร้อยละ 40 ไม่เกิน              (60,000) บาท มาตรา 42 ทวิ
เงินได้สำหรับคำนวนภาษี                         150,000 บาท
.
แต่กรมสรรพากรกำหนดว่าเงินได้สำหรับคำนวนภาษี 0 - 150,000 ได้รับยกเว้นภาษี 
.
หมายเหตุ:
อัตราภาษีเงินได้ ตามที่กรมสรรพกรกำหนด สำหรับบุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิไม่เกิน                                            150,000 บาท      ยกเว้นภาษี
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน       150,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาท       ร้อยละ 10
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน    500,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท       ร้อยละ 20
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน  1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 4,000,000 บาท       ร้อยละ 30
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน                                      4,000,000 บาท       ร้อยละ 37


สรุปอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ฉบับปรับปรุง 2551
เงินได้สุทธิ
1 - 150,000 ได้รับการยกเว้น
150,001 - 500,000 ร้อยละ 10
500,001 - 1,000,000 ร้อยละ 20
1,000,001 - 4,000,000 ร้อยละ 30
4,000,001 บาทขึ้นไป 37

หมายเหตุ :- การ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้สุทธิเฉพาะส่วนไม่เกิน 150,000 บาท มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ( พระราชกฤษฎีกา ( ฉบับที่ 470 ) พ.ศ. 2551 )



อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2555 (ใหม่)


อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ *

- เงินได้สุทธิ 0-300,000 บาท อัตราภาษี 5%
- เงินได้สุทธิ 300,001 ถึง 500,000 บาท อัตราภาษี 10%
- เงินได้สุทธิ 500,001 ถึง 750,000 บาท อัตราภาษี 15%
- เงินได้สุทธิ 750,001 ถึง 1,000,000 บาท อัตราภาษี 20%
- เงินได้สุทธิ 1,000,001 ถึง 2,000,000 บาท อัตราภาษี 25%
- เงินได้สุทธิ 2,000,001 ถึง 4,000,000 บาท อัตราภาษี 30%
- เงินได้สุทธิ 4,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%
- ผู้มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท กระทรวงการคลังจะออกพระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษีไว้เช่นเดิม



ขณะนี้ยังไม่มีประกาศใช้อย่างเป็นทางการคาดว่าจะใช้อัตราภาษีนี้ปี 2557

Wednesday, August 8, 2012

ภงด. 90, ภงด. 91, ภงด. 94

การยื่น ภงด. 90, ภงด. 91, ภงด. 94
ความแตกต่างระหว่าง ภงด. 90, ภงด. 91, ภงด. 94

บุคคลธรรมดาที่มีรายได้ช่วงครึ่งแรกของปี( มค.-มิย. ของทุกปี)
ให้ทำการประมาณการณ์ตนเองว่า หากมีรายได้จนถึงสิ้นปีแล้ว
คาดว่าจะมีรายได้ทั้งปีเป็นเท่าไร ก็ให้เอารายได้นั้นมาหารสอง
แล้วเอามาคำนวนเป็นรายได้ครึ่งปี แล้วยื่นด้วยแบบ ภงด.94
ยื่น ภงด. 94 ภายใน 30 กันยายน ของทุกปี

พอถึงสิ้นปี เราจะต้องทำการรวบรวมรายได้ของเราทั้งปีที่ผ่านมา
ว่าจริงๆแล้วรายได้ของเรารวมเป็นเท่าไร ก็ให้นำมาคำนวนภาษีใหม่อีกครั้ง
เมื่อได้ยอดภาษีที่ต้องชำระเป็นเงินเท่าไร ก็ให้นำภาษีที่เราชำระไปแล้ว
(แบบภงด.94 ที่ยื่นตอนครึ่งปี) มาหักออก เหลือภาษีที่ต้องชำระเท่าไร
ก็ให้ชำระไปตามนั้น โดยภาษีที่ยื่นตอนปลายปีนั้น ต้องยื่นด้วยแบบภงด.90
ยื่น ภงด. 90 ภายใน 31 มีนาคม ของทุกปี

ส่วนแบบภงด.91 นั้น ใช้สำหรับการยื่นแบบในกรณีที่มีรายได้จากเงินเดือนเท่านั้น
แต่หากมีรายได้จากเงินเดือน และมีรายได้อื่นด้วย ต้องเปลี่ยนไปยื่นแบบ ภงด.90แทน
ส่วนแบบ ภงด.91 ก็ไม่ต้องยื่นอีกต่อไป นอกจากว่า ในปีต่อๆไป มีแต่รายได้
จากเงินเดือนอย่างเดียว ไม่มีรายได้อื่นอีก ก็ให้กลับมายื่นแบบ ภงด.91